ปลายเดือนที่ผ่านมา “แนวร่วมการเงินที่เป็นธรรมประเทศไทย” หรือ Fair Finance Thailand ได้จัดเวทีสาธารณะหัวข้อ “บทบาทของสถาบันการเงินในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน” ขึ้นเพื่อให้ความรู้และแนวทางป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นกับสถาบันการเงิน THAI CG Fund จึงได้สรุปความเสี่ยง กรณีศึกษา และการแนวทางการป้องกันการทุจริตของสถาบันการมาฝาก
ถ้าอยากป้องกันการทุจริตอย่างแรกที่ต้องรู้คือความเสี่ยง ทีมวิจัยจาก Fair Finance Thailand แบ่งความเสี่ยงของการทุจริตในสถาบันการเงินออกมาเป็น 2 ประเภท
จากความเสี่ยงที่ยกมา มีตัวอย่างที่จะทำให้เราเห็นภาพชัดขึ้น เช่น คดีทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่ม 25 บริษัทแร่โลหะ (2556-2557) คดีนี้เริ่มต้นจากขบวนการทุจริตที่จัดตั้งบริษัทส่งออก-นำเข้า แร่โลหะปลอม โดยหลอกเอาชื่อของชาวบ้านมาเปิดบัญชีและบริษัท ต่อมาก็สร้างหลักฐานการซื้อขายปลอมและยื่นขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % จากกรมสรรพากรจนกวาดเงินไป 4,300 ล้านบาท
ภาพดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งผลการศึกษาบทบาทของสถาบันการเงินในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน จัดทำโดย Fair Finance Thailand
คดีนี้ทำเราเห็นช่องโหว่
อีกหนึ่งตัวอย่างคือ คดีการรุกล้ำพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ หาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง ปี 2557 เจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ ยื่นฟ้องต่อโรงแรมอนันตรา สิเกา รีสอร์ท แอนด์ สปา เนื่องจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน (นส.3ก) ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้จะสู้กันอยู่นานเพราะโรงแรมก็อ้างว่ามีหนังสือรับรอง แต่ก็พบว่าหนังสือที่ดินนั้นออกโดยไม่ถูกต้องจากเจ้าหน้าที่รัฐ
คดีนี้ทำให้เห็นช่องทางที่ธนาคารสามารถป้องกันการทุจริตทางอ้อมได้ เพราะในการขอสินเชื่อโดยใช้ที่ดินเป็นหลักประกัน ธนาคารมีส่วนในการตรวจสอบที่ดินที่ผิดกฎหมาย แต่ยังมีข้อจำกัดเพราะบางครั้งหนังสือรับรองที่ดินถูกออกอย่างผิดกฎหมายจากเจ้าหน้าที่รัฐโดยที่ธนาคารไม่รู้
ทั้งหมดนี้ก็สอดคล้องไปกับความเสี่ยงที่บอกไว้ในตอนแรก แม้ว่าตอนนี้สถาบันการเงินประเทศไทยจะมีแนวทางมาตรการป้องกันความเสี่ยงอยู่แล้วแต่ก็ยังเห็นช่องว่างที่อาจทำให้กรณีทุจริตเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ทีมวิจัย Fair Finance Thailand จึงได้เสนอการยกระดับการป้องกันการทุจริตของสถาบันการเงิน 4 ข้อ
บทสรุปจากความเสี่ยงและกรณีศึกษา ทำให้เราเห็นช่องโหว่ที่ทำให้เกิดการทุจริตในสถาบันการเงิน แต่ในขณะเดียวกันช่องโหว่นั้นก็เหมือนเป็นช่องทางที่สถาบันการเงินจะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน ซึ่งผลประโยชน์ไม่ได้เกิดแค่กับตัวสถาบันเอง แต่รวมทั้งรัฐและประชาชนเองด้วย การพูดคุยครั้งนี้จึงเป็นก้าวสำคัญที่ทำให้เห็นการแก้ปัญหาคอร์รัปชันในอีกมุมหนึ่งเพื่อให้ประเทศไทยลดปัญหาคอร์รัปชันลงไปได้
โดยผู้อ่านสามารถดูเนื้อหาข้อมูลในงานเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/FairFinanceThailand/videos/960116955144890
ดาวน์โหลดเนื้อหาจากกรณีศึกษา บทบาทของสถาบันการเงินในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน คลิก