เมื่อวันเสาร์ที่ 23 มีนาคม 2567 กองทุนรวมธรรมาภิบาลไทย (Thai CG Fund) ได้เกียรติรับเชิญจากงาน Good Society Day 2024 ภายใต้การร่วมจัดกับร้อยพลังเปลี่ยนประเทศและมูลนิธิเพื่อคนไทย บรรยายเชิงปฏิบัติการด้วยโจทย์ ‘Business Equipment’ สำหรับชาว Change Maker เพื่อสร้างทักษะการขอทุนแบบเร่งด่วน
สร้างเสริมพลังการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในสังคมอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ด่านหนึ่งที่ต้องผ่านให้ได้คือการขอทุนสนับสนุน หรือนักลงทุนที่พยายามมองหาโอกาสใหม่ๆ ซึ่งเราต้องใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีในการพูด Key Message ที่ต้องครบถ้วน และเห็นผลลัพธ์ทางสังคมภาพใหญ่ ทางทีม GovGrowth เอาเคล็ดลับมาฝากหลักการ The Golden Circle
โลกที่เต็มไปด้วยความท้าทายและปัญหาสังคมที่หลากหลาย ย่อมมีปัญหาที่เราอยากแก้ไขเยอะแยะ แต่น้อยคนอาจจะละเลยการตั้งคำถามว่า ‘ทำไม’ เราต้องทำมันด้วยล่ะ ซึ่งในบางครั้งและหลายครั้งที่โครงการมักตั้งต้นด้วยการแก้ไขอะไร มากกว่าการตอบคำถามเพื่อเจาะลึกลงไปว่าเราทำไปทำไมกันนะ แล้วทำไมต้องเป็นเราไปแก้ไขปัญหาเหล่านั้น
แนวคิดนี้ คือหลักการ the Golden Circle ถูกอธิบายโดยคุณ Simon Sinek เป็นหลักการสำคัญที่ทำให้บุคคลหรือองค์กรประสบความสำเร็จ โดยแบ่งเป็น 3 วงกลมหลักคือ
Simon Sinek เสนอว่าองค์กรส่วนใหญ่มักจะเริ่มต้นจากการสื่อสารจากวงนอกสุด (What) เข้ามา แต่องค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนจะเริ่มจากวงใน (Why)
และขยายออกไป เพราะการสื่อสารและดึงดูดลูกค้าด้วย Why จะสร้างความผูกพันทางอารมณ์และแรงบันดาลใจ มากกว่าการขายสินค้าหรือบริการเพียงอย่างเดียว
การทำเช่นนี้เพื่อตั้งเป้าหมายความต้องการ ความสำเร็จ และวางแนวทางที่นำไปสู่เป้าหมายความสำเร็จของเรา เมื่อลองเรียบเรียงจากความคิดได้แล้ว เพื่อนๆ ตอบคำถามอีกครั้งว่า “ทำไมต้องเป็นเราเข้าไปแก้ไขปัญหานี้ด้วยละ?”
ลองไปตัวอย่างจาก IKEA ที่ใช้การสื่อสารเรื่อง WHY ที่เข้าถึงอารมณ์และความฝันของผู้คนที่อยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นผ่านการมีบ้านที่อบอุ่นและใช้งานได้ดี โดยไม่จำเป็นต้องจ่ายแพง ซึ่งเชื่อมโยงกับภารกิจของ IKEA ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ทำให้สิ่งนี้เป็นจริงได้ผ่านดีไซน์ที่ดี การผลิตที่มีประสิทธิภาพ และประสบการณ์การซื้อที่เหนือกว่าใคร สิ่งเหล่านี้นำมาสู่ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และบริการที่ลูกค้าจะได้รับ และกลายเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ IKEA เป็นแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่ครองใจผู้คนทั่วโลกมายาวนานนั่นเอง
เมื่อเราสามารถตอบคำถามได้ว่าทำไมเราถึงต้องทำหรือแก้ไขปัญหาทางสังคมที่เราสนใจ เราก็สามารถเรียบเรียงข้อมูลต่างๆ ตามหลักการ STAR Model หรือเทคนิค STAR ประกอบด้วย Situation (สถานการณ์), Task (งาน), Action (การดำเนินการ), Result (ผลลัพธ์) โดยเรามักใช้เทคนิคนี้ในการสัมภาษณ์งาน แต่จริงๆ ก็สามารถประยุกต์ใช้กับการเขียนภาพรวมของโครงการได้เหมือนกัน แต่รู้หรือไม่ STAR มีวิธีการใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถประยุกต์จากหลักการของ the Golden Circle ที่นำมา WHY > HOW > ACTION ด้วยแนวคิดหลักดังนี้
ตัวอย่างจากโครงการส่งเสริมเกษตรกรอินทรีย์รุ่นใหม่เพื่อสร้างภาพลักษณ์ชุมชนแม่ทา จังหวัดเชียงใหม่ ที่นำมาเรียบเรียงผ่านเทคนิค STAR
อย่างไรก็ตาม STAR Model เป็นเพียงแค่เทคนิคหนึ่งสำหรับการเกลาความคิดเพื่อตกผลึกในประเด็นสำคัญ และช่วยเสริมให้การเล่าเรื่องมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เพื่อนๆ Cahnge Maker สามารถนำไปใช้เป็นจุดเสริมให้การอธิบายโครงการมีความกระชับ ตรงประเด็น และเห็นภาพ เพราะผู้ดำเนินโครงการสามารถตอบคำถามของ WHY ที่มากกว่าคำว่า ‘ทำไม’ แต่เป็น ทำไม + แรงขับเคลื่อน,แรงบันดาลใจ ที่ช่วยให้การเรื่องเล่ามีมิติมากขึ้น ดึงดูดให้ผู้ฟังสนใจและจดจำได้
ทั้งนี้ ตัวของผู้พูด และบริบทแวดล้อม เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้การนำเสนอมีประสิทธิภาพและน่าจดจำมากขึ้น เช่น การเตรียมการอุปกรณ์หรือสื่อต่างๆ ก่อนเริ่มนำเสนอ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการนำเสนอ การวางตัว จังหวะหายใจหรือการเน้นประโยคต่างๆ เพื่อสร้างความชัดเจนและจิตนการของผู้ฟัง
ขอบคุณภาพจากงาน Good Society Day 2024 ในกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ “เกลาความคิด Pitching ขอทุน”