โครงการนำร่องบัตรคะแนนชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
จากการที่ ‘กลุ่มลูกเหรียง’ ได้นำร่องโครงการบัตรคะแนนชุมชนมาแล้วกว่า 10 ชุมชน พบว่า ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ชุมชนเข้มแข็งมากขึ้นหลังได้รับการอบรม คนในชุมชนพยายามเข้าถึงการตรวจสอบและมีทัศนคติว่าเรื่องในชุมชนเป็นเรื่องของทุกคน ดังนั้น เพื่อให้มีการใช้เครื่องมือธรรมาภิบาลให้เกิดประโยชน์สูงสุด กลุ่มลูกเหรียงจึงมีความต้องการพัฒนาโครงการบัตรคะแนนชุมชนต่อในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ เพื่อเพิ่มช่องทางในการสร้างธรรมาภิบาล ลดความขัดแย้ง และแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีโดยความร่วมมือของประชาชน
เพราะอะไรถึงต้องนำร่องที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้
การพัฒนาชุมชนเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน แต่ในชุมชนของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังขาดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาชนอยู่มาก เนื่องจากชุมชนมีทัศนคติว่าการพัฒนาชุมชนต้องเป็นหน้าที่ของรัฐฝ่ายเดียว อีกทั้งไม่มีกลไกในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ การจัดสรรงบประมาณท้องถิ่นมาจากผู้มีอำนาจเพียงไม่กี่คน ทำให้นโยบายหรือโครงการไม่ตอบสนองความต้องการของชุมชน และเสี่ยงต่อการคอร์รัปชันได้
เพื่อป้องกันการบริหารจัดการที่ไม่เป็นธรรมและเสี่ยงต่อการคอร์รัปชัน จึงต้องส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ รู้จักกลไกการมีส่วนร่วม เพื่อสร้างความโปร่งใสในการพัฒนาชุมชน สร้างความรับผิดชอบร่วมกันในชุมชน และทำให้ชุมชนสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง
จุดประสงค์ของโครงการ
Community Score Card คืออะไร?
กิจกรรมบัตรคะแนนศักยภาพชุมชน หรือ Community Score Card คือ เครื่องมือในการสร้างเสริมธรรมาภิบาลในท้องถิ่น ด้วยกลไกที่สนับสนุนให้ภาคประชาชนร่วมตรวจสอบการบริหารงานของภาครัฐที่สามารถทำได้ง่ายและต้นทุนต่ำ โดยมุ่งเน้นในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและกระตุ้นให้ภาครัฐทำงานในกรอบที่ประชาชนต้องการ
Community Score Card จะช่วยเพิ่มศักยภาพชุมชนให้สามารถนำเสนอปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของพวกเขาได้ สร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาร่วมกันในระดับชุมชน ผ่านการให้ประชาชนลงคะแนนให้โครงการต่าง ๆ และการให้บริการของภาครัฐ รวมถึงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญ ความเร่งด่วนของปัญหา และผลกระทบของปัญหาต่อชีวิตของคนในชุมชน นำไปสู่การใช้สิทธิและเสียงของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาตรวจสอบการทำงานของรัฐ ซึ่งจะทำให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของตัวเอง มีทัศนคติในการมีส่วนร่วมตรวจสอบการทำงานของภาครัฐมากขึ้น
Community Score Card มีขั้นตอนอะไรบ้าง
ทำอย่างไรให้ยั่งยืน
ด้วยกระบวนการที่ไม่ซับซ้อน ต้นทุนไม่สูง และเข้าถึงประชาชนในระดับชุมชนได้ เมื่อได้รับการอบรมและเกิดความเข้าใจแล้ว จะทำให้ประชาชนสามารถนำไปใช้เองได้ง่ายและบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีองค์กรประชาสังคมที่เข้ามามีส่วนร่วมกับกระบวนการทำบัตรคะแนนชุมชน สามารถนำไปขยายต่อในชุมชนต่าง ๆ ที่กว้างขึ้น