28 Aug 2023
ACT Ai เครื่องมือสู้โกงภาคประชาชน
ACT Ai เครื่องมือสู้โกงภาคประชาชน
ป้องกัน
link icon

โครงการ Big Open Data เพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน

เมื่อ AI ถูกนำมาใช้ในการต่อต้านคอร์รัปชัน

ACT Ai เป็นฐานข้อมูลเปิดขนาดใหญ่ (Big Open Data) ในรูปแบบเว็บไซต์ที่รวบรวมข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและและข้อมูลธุรกิจที่สำคัญต่อการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันตามมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลระดับสากล เพื่อสร้างความโปร่งใส สร้างการมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วนของสังคมได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการและใช้ข้อมูลในการติดตามตรวจสอบ ซึ่งทําให้เกิดกลไกความรับผิดชอบในสังคม


โครงการ Big Open Data มีจุดมุ่งหมายในการสร้างชุดข้อมูลและเครื่องมือการวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน ที่จะเป็นรากฐานในการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นสังคมที่ปลอดคอร์รัปชันในที่สุด อีกทั้งจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ที่เปิดให้ประชาชนใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย


แล้วทำไมเราจำเป็นต้องมี Big Open Data?

ปัญหาคอร์รัปชันในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ เห็นได้จากผลดัชนีภาพลักษณ์การคอร์รัปชันในภาครัฐ (Corruption Perception Index) ที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยถูกลดอันดับความโปร่งใสลงจากอันดับที่ 96 ในปี 2560 มาสู่อันดับที่ 99 ในปี 2561 (จาก 180 ประเทศทั่วโลก) นอกจากนี้ ในแต่ละปีพ่อค้าและนักธุรกิจกว่า 80% ต้องสูญเสียเงินให้กับการคอร์รัปชันในประเทศไทยสูงถึงเกือบ 3 แสนล้านบาทในการหักค่าหัวคิวหรือเก็บเงินใต้โต๊ะ


ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาองค์กรและภาคส่วนต่าง ๆ ในประเทศไทยมีความพยายามในการต่อต้านและกำจัดการคอร์รัปชันอยู่ตลอด แต่การทำงานก็ค่อนข้างเป็นไปได้ยากเนื่องจากยังมีปัญหาหรือจุดอ่อน (Pain point) สำคัญคือ

  • การเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และสะดวก
  • เครื่องมือที่ช่วยเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเชื่อมโยงและวิเคราะห์ เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการต่อต้านคอร์รัปชัน


Screenshot 2023-08-28 160116.png


การทำงานของ Big Open Data

Big Open Data จะถูกพัฒนาให้เป็น 'ระบบกลาง' ในการเชื่อมโยง จัดการ และวิเคราะห์ชุดข้อมูลที่มีความสำคัญต่อการต่อต้านคอร์รัปชัน และกลายเป็นเครื่องมือสนับสนุนนักข่าว สื่อ ภาคประชาสังคม และประชาชนที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลเพื่อตรวจสอบและติดตามการทำงานของภาครัฐ โดยการพัฒนาระบบ Big Open Data นี้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความโปร่งใส่ในสังคมด้วยการเชื่อมโยงชุดข้อมูล (Cross-referencing) ที่หลากหลาย ผ่านการสร้างความร่วมมือในการทำงานแบบภาคี (Consortium) จากหลากหลายหน่วยงานที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจการดำเนินงานร่วมกัน โดยมีองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) (ACT) เป็นผู้ประสานงานหลัก


2565-09-27 เช้า บ่าย (1).jpg


การดำเนินงานของโครงการฯ ยึดตามหลัก Transparency International's Open Data for Anti-corruption Framework และมีหลักการ G20 Anti-corruption Open Data Principles ซึ่งเป็นกรอบดำเนินงานเพื่อพัฒนาข้อมูลเปิดเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชัน


1680770380995.jpg


ทดลองใช้เว็บไซต์ Act Ai ได้ที่: https://actai.co/


ติดตามการทำงานของกองทุนธรรมาภิบาลไทยและโครงการอื่น ๆ: https://thaicgfund.com/


AUTHOR
Yanika (Nanko)
Yanika (Nanko)
ผู้ประสานงานโครงการที่มีอาชีพหลักเป็นคนรับใช้ของแมว 5 ตัว รักในการไปทะเลและปลูกต้นไม้ มีแพชชันคืออยากเห็นสังคมไทยกลายเป็น inclusive society และเป็นเมืองสำหรับทุกชีวิต
PHOTOGRAPHER
THAI CG FUND
THAI CG FUND
สร้างพื้นที่แห่งความเป็นไปได้ผ่านทุนสนับสนุนและเครือข่ายการทำงาน